top of page

สรุป

            ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่มีผลกระทบมากต่อการเกษตรกรรม และอุปโภคบริโภค โดยเป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้ง ในช่วงฤดูฝน และเกิด ฝนทิ้งช่วง ในเดือนมิถุนายนต่อเนื่องเดือนกรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพราะเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว ดังกล่าวแล้วจะก่อให้เกิดภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่มักจะประสบปัญหาภัยแล้งเป็นประจำอีก โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะภัยแล้ง คือ ปริมาณฝน ที่ถึงแม้ว่าปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศไทยในปี 2557 จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเพียง 0.29% รวมทั้งยังมากกว่าปี 2548 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรงอยู่ 0.81% แต่หากพิจารณาลักษณะการกระจายตัวของฝน จะเห็นได้ว่าปี 2548 มีการกระจายตัวของฝนครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยมากกว่าปี 2557 ที่มีฝนตกหนักกระจุกตัวเป็นหย่อม ๆ ตามแนวขอบประเทศ อีกทั้งบริเวณภาคใต้มีฝนตกค่อนข้างมาก ทำให้ค่าฝนเฉลี่ยรวมทั้งประเทศสูงขึ้นมาใกล้เคียงค่าเฉลี่ย แต่บริเวณตอนกลางของประเทศกลับมีฝนตกน้อยมาก

เว็บไซต์นี้ จัดทำโดย นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

คณะศิลปะกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษารายวิชา GES2203 ความรู้เท่าทันสารสนเทศ

ประเด็นการศึกษา  ภัยแล้งในประเทศไทย พ.ศ.2557-2558

© 2023 by The Green Conference. Proudly created with Wix.com

bottom of page